ภูมิหลัง ของ การก่อการกำเริบ 8888

ปัญหาทางเศรษฐกิจ

ก่อนเข้าสู่วิกฤติ พม่าปกครองด้วยระบบที่โดดเดี่ยวตัวเองของเนวินตั้งแต่ พ.ศ. 2505 ประเทศมีหนี้สิน 3.5 พันล้านดอลลาร์สหรัฐ มีเงินสดสำรองระหว่าง 20 – 35 ล้านเหรียญ อัตราหนี้สินภาคบริการเป็นครึ่งหนึ่งของงบประมาณของประเทศ[10] ในเดือนพฤศจิกายน พ.ศ. 2528 มีนักศึกษาออกมาประท้วงคว่ำบาตรรัฐบาลที่ประกาศยกเลิกธนบัตรที่ใช้ในตลาด[11]

ในวันที่ 5 กันยายน พ.ศ. 2530 เนวินได้ประกาศยกเลิกธนบัตรราคา 100 75 35 และ 25 จ๊าดที่เพิ่งออกใช้ใหม่ และให้ใช้ธนบัตรเพียง 45 และ 90 จ๊าด เนื่องจากเป็นธนบัตรที่ตัวเลขหารด้วยเก้าลงตัว ซึ่งถือเป็นเลขนำโชคของเนวิน[12] นักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีย่างกุ้งได้เริ่มประท้วงที่ย่างกุ้ง[13] ทำให้มหาวิทยาลัยในย่างกุ้งปิดเพื่อให้นักศึกษากลับบ้าน ต่อมา มีการประท้วงครั้งใหญ่ในมัณฑะเลย์โดยพระสงฆ์และกรรมกร มีการเผาอาคารของรัฐและธุรกิจของรัฐ[14] สื่อในพม่ารายงานเพียงเล็กน้อยเกี่ยวกับการประท้วง แต่ข้อมูลได้แพร่กระจายไปโดยเร็วในหมู่นักศึกษา[14]

เมื่อมีการเปิดเรียนอีกครั้งในเดือนตุลาคม พ.ศ. 2530 มีกลุ่มที่เคลื่อนไหวใต้ดินในย่างกุ้งและมัณฑะเลย์ออกมาวางระเบิดในเดือนพฤศจิกายน ตำรวจได้รับจดหมายจากกลุ่มใต้ดินซึ่งจัดการประท้วงขนาดเล็กในมหาวิทยาลัย[15] หลังจากที่พม่าได้รับสถานะประเทศที่พัฒนาน้อยที่สุดในเดือนธันวาคม พ.ศ. 2530 รัฐบาลได้วางนโยบายให้เกษตรกรขายผลผลิตในราคาที่ต่ำกว่าราคาตลาด เพื่อให้รัฐบาลได้กำไรเพิ่มขึ้น จึงมีการประท้วงอย่างรุนแรงในเขตชนบท[16]

การประท้วงระยะแรก

ในวันที่ 12 มีนาคม พ.ศ. 2531 นักศึกษาจากสถาบันเทคโนโลยีย่างกุ้งได้โต้เถียงในร้านน้ำชาซานดา ซินเกี่ยวกับการเล่นดนตรีผ่านเครื่องเสียง[6][14] คนที่เมาไม่สามารถกรอเทปไปยังเพลงที่นักศึกษาต้องการ[17] ทำให้เกิดการทำร้ายร่างกายกันขึ้น คนในร้านที่เป็นลูกชายของเจ้าหน้าที่ BSPP ถูกจับกุมในข้อหาทำร้ายนักศึกษาและถูกปล่อยตัวอย่างรวดเร็ว นักศึกษาได้ประท้วงที่สถานีตำรวจในท้องถิ่น แต่มีตำรวจ 500 คนมาสลายการชุมนุม นักศึกษาคนหนึ่งชื่อโพน เมาถูกยิงเสียชีวิต เหตุการณ์ทำให้ผู้ต้องการประชาธิปไตยโกรธแค้นและมีการปลุกระดมในมหาวิทยาลัย นักศึกษาที่ไม่เคยเข้าร่วมมาก่อนได้มาร่วมด้วยและได้ขยายเป้าหมายจากการใช้อำนาจของตำรวจไปสู่การประท้วงการทำงานของรัฐบาล

ในช่วงกลางเดือนมีนาคม มีการประท้วงเกิดขึ้นหลายแห่ง และมีการสลายฝูงชนด้วยแก๊สน้ำตา กลุ่มนักศึกษาได้ขว้างก้อนหินเข้าใส่ตำรวจ เผาร้านน้ำชาและอาคารอีกหลายหลัง ในวันที่ 16 มีนาคม นักศึกษาประท้วงต้องการให้เน วินลาออกและยกเลิกการปกครองด้วยระบอบพรรคการเมืองเดียว และได้ตั้งขบวนเดินเข้าหาทหารที่ทะเลสาบอินยา ทำให้มีนักศึกษาหลายคนเสียชีวิตและถูกข่มขืน นักศึกษาหลายคนได้ยินเสียงตำรวจตะโกน “อย่าให้มันหนี” และ “ฆ่ามัน” ซึ่งทำให้กลุ่มต่อต้านได้รับการสนับสนุนมากขึ้น การประท้วงครั้งนี้ได้ลุกลามไปจนถึงวันที่ 18 มีนาคม รัฐบาลจึงควบคุมสถานการณ์ได้ รัฐบาลพม่ารายงานว่าตำรวจยิงนักศึกษาเสียชีวิต 2 คน นักศึกษาถูกจับกุม 625 คน ต่อมาได้ปล่อยตัว 484 คน ควบคุมตัวไว้ 141 คน

เน วินลาออก

หลังจากการประท้วงครั้งล่าสุด ได้ประกาศปิดมหาวิทยาลัยเป็นเวลาหลายเดือน ในเดือนมิถุนายน พ.ศ. 2531 มีการประท้วงครั้งใหญ่ของนักศึกษา .ในวันที่ 17 มิถุนายน นักศึกษาจากมหาวิทยาลัยศิลปะและวิทยาศาสตร์แห่งย่างกุ้งได้จัดชุมนุมใหญ่ เรียกร้องให้ปล่อยตัวนักศึกษาที่ถูกจับกุม และให้รัฐบาลรับรองสหภาพนักศึกษาที่ถูกยุบไปเมื่อ พ.ศ. 2505 รัฐบาลสั่งปิดมหาวิทยาลัยในวันที่ 21 มิถุนายนและสั่งให้นักศึกษาจากต่างจังหวัดกลับภูมิลำเนา นักศึกษายังคงประท้วงต่อไป มีนักศึกษาและตำรวจปราบจลาจลจำนวนมากที่เสียชีวิตจากการประท้วงในเดือนนี้ รัฐบาลได้ประกาศห้ามออกนอกเคหสถานตั้งแต่ 18.00 – 6.00 น. จนถึง 19 กรกฎาคม และมีการประท้วงได้กระจายไปเกิดขึ้นในอีกหลายเมืองในพม่า เช่น พะโค มัณฑะเลย์ ทวาย ตองอู ชิตตเว ปกอกกู เมอกุย มินบู และมยิตจีนาเป็นต้น ผู้ประท้วงต้องการให้ใช้ระบอบหลายพรรคการเมือง ทำให้เน วินประกาศลาออกเมื่อ 23 กรกฎาคม พ.ศ. 2531 เน วินกล่าวว่าเขาเห็นด้วยกับระบบหลายพรรคการเมืองแต่ต้องให้เป็นหน้าที่ตัดสินใจของเส่ง วิน ผู้นำคนใหม่[18]

ใกล้เคียง

การก่อการกำเริบ 8888 การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศไทย การก่อการกำเริบคอมมิวนิสต์ในประเทศมาเลเซีย (ค.ศ. 1968–1989) การก่อการกำเริบในลาว การก่อการกำเริบวอร์ซอ การก่อการกำเริบควังจู การก่อการกำเริบฮุกบาลาฮับ การก่อการกำเริบในสาธารณรัฐมาซิโดเนีย พ.ศ. 2544 การก่อการกำเริบของประชาชนในยุโรปช่วงปลายสมัยกลาง การก่อการกำเริบในเยอรมนีตะวันออก ค.ศ. 1953

แหล่งที่มา

WikiPedia: การก่อการกำเริบ 8888 http://books.google.com/books?id=Oa9_uCi83RsC&pg=P... http://www.iht.com/articles/reuters/2008/08/08/asi... http://query.nytimes.com/gst/fullpage.html?res=940... http://www.opendemocracy.net/article/burma-waiting... http://www.foreignaffairs.org/19890301faessay5952/... http://www.irrawaddy.org/article.php?art_id=13772 http://www.irrawaddy.org/research_show.php?art_id=... http://www3.soros.org/burma/Voices88/catalogue_ind... http://news.bbc.co.uk/1/hi/world/asia-pacific/7543... http://news.bbc.co.uk/2/hi/asia-pacific/3134123.st...